ม.มหิดลต้นแบบ ‘สร้างสุข’ ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ ‘องค์กรเชิงบวก’

หากเปรียบนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเหมือน “เมล็ดพันธุ์ข้าว” ที่รอวันเก็บเกี่ยว และขยายพันธุ์ก่อนส่งออกไป “ต่อลมหายใจ” โลก

ม.มหิดลต้นแบบ-'สร้างสุข'

ปัญหาบุคลากรใหม่สมัครงานเข้ามาได้ไม่นานก็ต้องลาออกไป ทำให้ “สายพานการผลิต” ขององค์กรต้องสะดุด เสียเวลารับสมัครใหม่อยู่เรื่อยๆ จะหมดไป เพียงสร้าง”หัวใจแห่งการสร้างสุข” ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ยังเป็น “ข้าวคอยเคียว”

รองศาสตราจารย์ ดร.จรัมพร โห้ลำยอง อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในเบื้องหลังสำคัญผู้ริเริ่มโครงการ “ยุวทูตสร้างสุข” ให้เกิดขึ้นเมื่อ 8 ที่ผ่านมา ก่อนผลักดันสู่เป้าหมายหลักของ”มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” (Happy University) ที่ขยายความร่วมมือออกไปสู่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเช่นปัจจุบันโดยเชื่อมั่นว่าความสุขที่ยั่งยืนขององค์กร สร้างได้ตั้งแต่วัยก่อนเข้าทำงาน

โดยได้นำหลักเศรษฐศาสตร์ “องค์กรเชิงบวก”(Positive Organization) มาเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมให้เกิด “ความคิดเชิงบวก” (Positive Thinking) ในการทำงาน แล้วทำให้ยั่งยืนโดยการสร้างเป็น “ระบบนิเวศ” (Ecosystem)

ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนได้มองเห็น “คุณค่าในตัวเอง” พร้อมริเริ่มสร้างสรรค์ “ทำปัจจุบันเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้นไป” จะทำให้คนรุ่นใหม่มองการทำงานแบบ “เช้าชาม เย็นชาม” ว่าเป็นการใช้ชีวิตที่สูญเปล่าไร้ความหมาย

จัดกิจกรรมโดยให้ดูตัวอย่างจากรุ่นพี่ที่มาบอกเล่าถึงความสำเร็จ พร้อมพาดูงาน ณ องค์กรต้นแบบ เพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ พร้อม “วาดภาพแห่งความสุข” ว่าหากได้มีโอกาสทำงานในที่ดังกล่าวจะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร

ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่ได้วางไว้ร่วมกันระหว่างโครงการฯและองค์กรต้นแบบ ตั้งแต่เริ่มต้นจัดโครงการฯ ที่มุ่งผลักดัน”นักสร้างสุข” ในกลุ่มยุวชน เพื่อให้ได้ “เมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ไปสร้างความเจริญงอกงามแก่องค์กรหลังสำเร็จการศึกษา

นอกจากนี้ ยังพบว่าการสร้างกรอบการทำงานด้วย “การวางกฎระเบียบควบคุม” แม้ “ได้งานที่ถูกต้อง” แต่ “ไม่ได้ใจ” เท่ากับการ “สร้างแรงจูงใจ” ให้ทำงานโดยมี “ผลสำเร็จของงาน” ที่ส่งประโยชน์ถึงองค์กร และประเทศชาติเป็นรางวัล”เป้าหมายแห่งชีวิต”

ในที่สุดทุกหัวใจจะได้ตระหนักว่า “เงินไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกสิ่ง” และพร้อมปรับตัว จากรั้วการศึกษา สู่การทำงานในชีวิตจริง พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ด้วยความเท่าทัน สู่ Ecosystem ในสถานที่ทำงาน “ส่งต่อความสุข” จากรุ่นสู่รุ่นให้พร้อมรับอนาคตที่ท้าทายต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพถ่ายโดย กฤติญา สำอางกิจ นักประชาสัมพันธ์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : “ศักดิ์สยาม” เป็นประธานพิธีแลกเปลี่ยนบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

“ศักดิ์สยาม” เป็นประธานพิธีแลกเปลี่ยนบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีแลกเปลี่ยนบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (United States Trade and Development Agency: USTDA) พร้อมด้วย นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค อัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายจอห์น ไบรเดนสไตน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำภูมิภาคอาเซียนฝ่ายพาณิชย์ นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธี โดยมี นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และนายสิทธิศักดิ์ อภิชาติธนพัฒน์ รองผู้จัดการภูมิภาคเอเชีย USTDA ร่วมแลกเปลี่ยนบันทึกความตกลงฯ ดังกล่าว ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ณ หอประชุม ราชรถสโมสร กระทรวงคมนาคม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบาย และข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งและการแก้ไขปัญหาจราจร ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยมียุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนไปสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า ได้แก่ ทางราง ทางน้ำ และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การลดต้นทุนการขนส่งในภาพรวมของประเทศ รวมถึงการสร้างโอกาสทางการแข่งขันของประเทศไทย ในเวทีโลก

สำหรับพิธีแลกเปลี่ยนบันทึกความตกลงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการที่ได้จัดขึ้นในวันนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สนข. และ USTDA ภายใต้โครงการ Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการดำเนินการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบทางรถไฟให้บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดไว้ทั้งในด้านการลดต้นทุนการขนส่ง การลดมลพิษจากการขนส่งทางถนน เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยส่งเสริมผลักดันนโยบายการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) ของกระทรวงคมนาคมให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยจะมีการพิจารณาระเบียงการขนส่งหลักที่สำคัญของไทย ได้แก่ 1) ท่าเรือแหลมฉบัง – หนองคาย 2) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – นิคมอุตสาหกรรมใน EEC 3) นิคมอุตสาหกรรมใน EEC – ชุมพร/ระนอง และ 4) ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งนี้ โครงการ Thailand Integrated Logistics and Intermodal Transport Development Plan ประกอบด้วยงาน 6 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การศึกษาทบทวนข้อมูลและประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาทบทวนการขนส่งต่อเนื่องในปัจจุบัน ทั้งการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ 3) การคาดการณ์จราจร 4) การจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ อย่างบูรณาการและแผนปฏิบัติการ 5) ข้อเสนอโครงการนำร่อง และ 6) การวิเคราะห์รูปแบบการเงิน เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และจะมีการเสนอแนะพื้นที่โครงการนำร่องอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อพัฒนา เป็นศูนย์บูรณาการโลจิสติกส์และขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในประเทศไทย กระทรวงคมนาคม โดย สนข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมสนับสนุนการดำเนินการศึกษา และจะนำข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา และคำแนะนำจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาปรับใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของไทยให้มีการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากระบบรางที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างเร่งรัดการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าเรือบก (Dry Port) ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าและศูนย์การขนส่งชายแดน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย

เศรษฐศาสตร์-ศักดิ์สยาม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า USTDA ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการผ่านทุนสนับสนุนในรูปแบบเงินให้เปล่า จำนวน 1,360,740 USD. หรือประมาณ 51 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 14 เดือน เมื่อผลการศึกษาแล้วเสร็จจะทำให้ประเทศไทยมีแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่งต่อเนื่องอย่างบูรณาการที่ชัดเจน สามารถนำไปดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกระทรวงคมนาคมในการลดต้นทุนการขนส่ง ลดมลพิษจากการขนส่งทางถนน ส่งเสริมความปลอดภัยจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากทางถนนไปสู่ทางราง อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สองอธิบดีกระทรวงคลังเก้าอี้ร้อน “อาคม” สั่งให้พิจารณาตัวเอง

สองอธิบดีกระทรวงคลังเก้าอี้ร้อน “อาคม” สั่งให้พิจารณาตัวเอง

สองอธิบดีกระทรวงคลังเก้าอี้ร้อน “อาคม” สั่งให้พิจารณาตัวเอง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้าราชการระดับสูงกระทรวงการคลัง เป็นตัวแทนกระทรวงการคลัง ไปเป็นกรรมการ (บอร์ด) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำการซื้อขายหุ้นบางจาก ในช่วงเวลาที่มีการเจรจาซื้อขายหุ้นระหว่างบางจากกับบริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ถือเป็นการรู้ข้อมูลภายใน (อินไซด์) หรือไม่นั้น ต้องไปสอบถามผู้ที่ทำการซื้อขายหุ้น และทั้ง 2 อธิบดีต้องพิจารณาด้วยตัวเอง ส่วนเรื่องจริยธรรม ความโปร่งใส ก็มีกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง และนายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นตัวแทนกระทรวงการคลัง ไปเป็นกรรมการบางจาก และได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นบางจาก ซึ่งเป็นผลตอบแทนประจำปี คนละ 300,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 28.14 บาท โดย น.ส.กุลยาได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นบางจาก 300,000 หุ้น และขายหุ้นเมื่อวันที่ 13 ม.ค.66 ที่ผ่านมา ถือเป็นการขายหุ้นทันทีเมื่อหุ้นเข้าพอร์ต ส่วนนายจำเริญ ก็ได้รับสิทธิการซื้อหุ้นเท่ากัน แต่นายจำเริญได้เข้าซื้อหุ้นมากกว่าสิทธิที่ได้รับ โดยซื้อเพิ่มอีก 300,000 หุ้น โดยการซื้อขายหุ้นดังกล่าวมีการรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯตามระเบียบ

สองอธิบดีกระทรวงคลังเก้าอี้ร้อน

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายหุ้นของ 2 อธิบดีนั้น ได้เกิดกระแสวิพากษ์ในวงกว้างเกี่ยวกับจริยธรรมของข้าราชการ เนื่องจากการได้รับสิทธิซื้อหุ้นนั้น เป็นผลประโยชน์ส่วนตน แต่การไปดำรงตำแหน่งกรรมการบางจากนั้น ไปในนามตัวแทนของกระทรวงการคลัง ดังนั้นต้องไม่รับสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าว

น.ส.กุลยากล่าวยอมรับว่า ได้มีการซื้อขายหุ้นบางจากจริง แต่หุ้นที่ซื้อขายนั้น เป็นไปตามสิทธิที่ได้รับจัดสรรอย่างถูกต้องตามมติบอร์ด เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (หุ้น esop) เมื่อได้รับจัดสรรหุ้นมาก็ขายหุ้นไปทันที โดยไม่ได้แจ้งตลาดฯว่าขายหุ้นไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันไม่ได้เป็นกรรมการบางจากแล้ว โดยลาออกตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.66 ที่ผ่านมา ส่วนกรณีที่มองว่าเป็นการเข้าไปซื้อหุ้น เพราะรู้ข้อมูลบริษัทที่กำลังเจรจาซื้อหุ้นเอสโซ่นั้น เรื่องนี้อยู่ที่มุมมอง แต่การเข้าไปซื้อหุ้นของตน เป็นการซื้อตามสิทธิที่ได้รับ โดยบอร์ดมีมติเมื่อปลายปี 2565 การซื้อหุ้นเกิดขึ้นช่วงปลายปีเมื่อหุ้นเข้าพอร์ตก็ขายทันที ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยซื้อขายหุ้นไม่มีพอร์ต เมื่อบอร์ดบางจากให้สิทธิ ก็เลยไปเปิดพอร์ต และหุ้นบางจากเข้าพอร์ตเช้าวันที่ 13 ก.พ. ช่วงบ่ายวันที่ 13 ก.พ. ก็ขายออกทันที

ขณะที่นายจำเริญกล่าวยอมรับว่า มีการซื้อขายหุ้นบางจากจริงตามสิทธิที่ได้รับ และซื้อเพิ่มอีก 300,000 หุ้น และได้ขายออกไป 150,000 หุ้น โดยการซื้อและขายหุ้นดังกล่าวได้รายงานต่อกระทรวงการคลัง และ ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว และขอยืนยันว่าไม่ได้ทำการซื้อขายหุ้นในลักษณะอินไซด์ข้อมูลอย่างแน่นอน.

อ่านข่าวเศรษฐศาสตร์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : สาวก “SHIB” อาจต้องทนถือเหรียญนาน 1 หมื่นปี ถึงจะแตะ 1 ดอลลาร์

สาวก “SHIB” อาจต้องทนถือเหรียญนาน 1 หมื่นปี ถึงจะแตะ 1 ดอลลาร์

บัญชี Twitter ของ Shibburn ได้แชร์ผลลัพธ์ของการเบิร์น Shiba Inu ที่เกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยจากจำนวนโทเค็นที่ถูกเผาเพื่อเร่งกระบวนการอุปสงค์

อุปทานของราคาเหรียญ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ในช่วง 2-3 วันแรกของปีใหม่นี้ อย่างไรก็ตามกระแสข่าวดังกล่าวนั้นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นจากสมาชิกบางคนของสาวกเหรียญมีม SHIB ซึ่งกังวลอัตราการเบิร์นเหรียญเพียงเล็กน้อยอาจไม่ส่งผลต่อราคามากนัก ซึ่งถ้าประเมินเวลาตามคณิตศาสตร์อาจต้องใช้เวลานานถึง 10000 ปี เหรียญ Shiba Inu ถึงจะมีอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1 ดอลลาร์ได้

เศรษฐศาสตร์ สาวกSHIB

จากการรายงานของ u.today กล่าวอ้างถึงโพสต์ใน Twitter ของ Shibburn ซึ่งเป็นทวิตเตอร์ที่เฝ้ามอนิเตอร์อัตราการเผาเหรียญทิ้งจากระบบ ซึ่งได้ออกมาโพสต์วิเคราะห์อัตราคำนวนเชิงคณิตศาสตร์โดยผู้ใช้ Twitter @Tezar18609754 โพสต์ความคิดเห็นประชดประชันใต้โพสต์ Shibburn ว่า “SHIB อาจต้องใช้เวลานานถึง 10,000 ปี จึงจะถึง 1 ดอลลาร์” โดยเขาให้ความเห็นว่าหากการเผาไหม้ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ดำเนินต่อไป และไม่มีการปรับอัตราเร่งของการเผาเหรียญใหม่ เหรียญมีมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 อาจจะะต้องใช้เวลานานถึง “10,000 ปี เพื่อที่จะมีค่าเสมอเท่ากับ $1” ขณะที่ในช่วงเวลาของการโพสต์ทวีตของ Shibburn นั้นจำนวนของ Shiba Inu ที่ถูกเผาทำลายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 5,000,224 เหรียญ ซึ่งถือว่ามีปริมาณจำนวนน้อยในการปรับสมดุลของอุปสงค์ อุปทานที่จะผลักดันราคาเหรียญ ซึ่งอัตรราการเผาดังกล่าวนั้น ต่ำกว่าการเผาไหม้สะสมเมื่อวานนี้ 35.24% เมื่อ SHIB เกือบ 8,000,000 ถูกนำออกจากการไหลเวียนและถูกล็อกอยู่ในกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ไม่ได้ใช้

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ เหรียญ SHIB สามารถทำการเผาเหรียญทิ้งได้จำนวนหลายล็อต โดยแต่ละล็อตมีมากกว่า 100 ล้าน SHIB อย่างไรก็ตาม ตอนนี้จำนวน SHIB ที่ถูกเผาต่อวันลดลงต่ำกว่า 10 ล้านแล้ว ขณะที่โดยรวมแล้วเมื่อปีที่แล้ว Shibburn ระบุว่า Shiba Inu มากกว่า 83,000 ล้านเหรียญถูกส่งไปยังกระเป๋าเงินปลายทางโดยความร่วมมือของชุมชน Shiba Inu

วาฬไล่เก็บเหรียญ SHIB ล็อตใหญ่

จากการติดตามกระเป๋าเงินคริปโตของ WhaleStats เมื่อหลายชั่วโมงก่อน นักลงทุน Ethereum อันดับต้น ๆ “BlueWhale0159” ได้ทำการซื้อ Shiba Inu จำนวน 186,939,748,000 เหรียญโดยใช้เงินกว่า $1,596,465 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เขียน พอร์ตโฟลิโอของวาฬตัวนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย USDC และ USDT Stablecoins มีการกล่าวถึง SHIB ในแผนภาพที่แสดงโทเค็นขาเข้า (24.28%) และในรายการของโทเค็นขาออกประมาณ 19% ของ Shiba Inu ที่ซื้อมาดูเหมือนว่าจะถูกวาฬขายออกไปแล้ว

ข่าวเศรฐศาสตร์ที่น่าสนใจ : เตรียมการลงทุนตราสารหนี้ในปี 2566 เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

เตรียมการลงทุนตราสารหนี้ในปี 2566 เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

เตรียมการลงทุนตราสารหนี้ในปี 2566 เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

เศรษฐศาสตร์

การลงทุนในตราสารหนี้ไทยปี 2565 ให้อัตราผลตอบแทนติดลบสอดคล้องกับตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก จากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงของธนาคารกลางทั่วโลก สร้างความแปลกใจให้แก่นักลงทุนพอสมควร เพราะตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ไม่น่าที่จะให้ผลตอบแทนติดลบได้ แล้วในปี 2566 การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยจะซ้ำรอยปี 2565 หรือไม่

อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว นโยบายโควิดเป็นศูนย์ในจีน และปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (สงครามรัสเซีย-ยูเครน) เป็นปัจจัยลบทำให้ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศหลักลดลงสู่เกณฑ์หดตัว

เป็นที่คาดการณ์กันว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของโลกจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปี 2566 หลังจากที่เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นำโดยสหรัฐฯ และยูโรโซน เนื่องจากธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อและวิกฤตพลังงานในยุโรป โดยดัชนีผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้ด้านความเชื่อมั่นที่นักลงทุนให้ความสนใจ ได้ปรับลดลงสู่เกณฑ์หดตัวต่ำกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่อ่อนแอและการค้าระหว่างประเทศที่ลดลงและต้นทุนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะชะลอลง ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์โดยส่วนใหญ่ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลักมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีโอกาสสูงขึ้นในปี 2566