ปราจีนฯ พบเด็ก นร.ใกล้โรงงาน ซีเซียม-137 กว่า 30 คน มีไข้ ไอ เจ็บคอ

นักเรียนพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานหลอมเหล็ก ซีเซียม-137 มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอจำนวนมาก ด้าน ประธานกลุ่มพื้นที่สุขภาพอำเภอกบินทร์บุรี ได้ติดตามอาการดูอย่างต่อเนื่อง ฝากประชาสัมพันธ์ถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มีอาการไปรับบริการได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงพยาบาลกบินทร์บุรี  ได้รับแจ้งจากคณะครูโรงเรียนบ้านโคกกระท่อน หมู่ที่ 10 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี  จ. ปราจีนบุรี ที่เปิดทำสารสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประมัถยมศึกษาปีที่ 6 และมีพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานหลอมเหล็กที่พบซีเซียม – 137 ประมาณ  3  กม. พบว่ามีนักเรียนทั้งชายและหญิง จำนวนหลายราย มีอาการเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ตัวร้อน  และบางรายไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้แล้ว เนื่องจากมีไข้สูงหลังจากรับแจ้ง ทางแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลกบินทร์บุรี  ได้ลงไปในพื้นที่พร้อมทำการตรวจวัดไข้จากนักเรียนในโรงเรียนเป็นการด่วน  และจากการตรวจพบว่า เด็กมีอาการไข้เจ็บคอมาแล้วหลายวัน บางรายเริ่มมีอาการตาแดง  ทางแพทย์ได้ทำการรักษาพร้อมจ่ายยาเบื้องต้นไปก่อน และพบว่า มี ด.ญ. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5  มีอาการไอ เจ็บคอ ปวดหัว  เป็นมา  3-4 วันแล้ว  แต่ที่เริ่มหนักมากคือเมื่อวานและวันนี้

เด็ก ปราจีนฯ

นายสงคราม  ศรีสวัสดิ์  ประธานกลุ่มพื้นที่สุขภาพอำเภอกบินทร์บุรี  กล่าวว่า เบื้องต้นเด็กที่ได้รับรายงานมีประมาณ  30  กว่าคนส่วนใหญ่จะเป็นอาการในระบบทางเดินหายใจ มีไข้สูงมากเป็นบางคน  มีไอ  มีน้ำมูก ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นต้นสังกัด  ได้รับแจ้งก็รีบลงมาประเมินอาการเบื้องต้น ถ้าใครมีอาการหนักก็จะแจ้งแพทย์โรงพยาบาลกบินทร์บุรี ซึ่งทางอำเภอกบินทร์บุรี ก็จะติดตามอาการดูว่าเป็นเด็กแล้วมีอาการต่อเนื่อง ซึ่งเป็นภารกิจหลัก  ช่วงนี้ประกอบกับมีสถานการณ์ซีเซียม -137  เราต้องดูแลประชาชนในเขตที่ตั้งของโรงงานอย่างใกล้ชิด ก็ฝากประชาสัมพันธ์ถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มีอาการไปรับบริการได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้เลย

ข่าวเด็กเพิ่มเติม>>>>รัฐบาลห่วงเด็ก-เยาวชนเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ เตือนผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด

รัฐบาลห่วงเด็ก-เยาวชนเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ เตือนผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด

รัฐบาลห่วงใยเด็กและเยาวชน จากภัยมิจฉาชีพในโซเชียลมีเดีย หลอกทำงาน ชวนลงทุน เตือนระมัดระวังการพูดคุยคนแปลกหน้า

อย่าหลงเชื่อโอนเงินโดยง่าย แนะผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด โรงเรียนให้ความรู้สร้างภูมิคุ้มกัน หน่วยงานเกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายเด็ดขาด

ข่าวเด็กล่าสุด

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่ปัจจุบันประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนได้ใช้เวลาอยู่กับเครื่องมือสื่อสารและโลกออนไลน์มากขึ้นและมีความสนใจหารายได้รูปแบบต่าง ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย จึงเพิ่มโอกาสเผชิญกับอาชญากรรมไซเบอร์ ถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรัฐบาลมีความห่วงใยและขอย้ำเตือนให้ประชาชนระมัดระวังภัยที่มาในรูปแบบต่าง ๆ อาจนำไปสู่ความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต เช่นกรณีเหตุเศร้าที่เกิดกับนักเรียนชั้น ม.3 ในพื้นที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อไม่นานมานี้

ทั้งนี้ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมประชาสัมพันธ์ ได้เร่งประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้ความรู้ประชาชนให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมมิจฉาชีพในโซเชียลมีเดียโดยต่อเนื่อง แต่ด้วยการใช้โซเชียลมีเดียที่กว้างขวางของประชาชนหลายกลุ่มและช่วงวัย อาจทำให้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่รู้ ไม่เท่าทัน และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลจึงขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครองดูแลสอดส่องการใช้โซเชียลมีเดียของบุตรหลาน เตือนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพ การหลอกลวง กลโกงที่มาในรูปแบบต่าง ๆ โรงเรียน สถานศึกษามีการสอดแทรกความรู้ผ่านสื่อการสอน หรือช่องทางประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาให้เยาวชนรู้ถึงภัยที่มากับโลกออนไลน์และสามารถป้องกันตนเองได้ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด

โดยพฤติการณ์มิจฉาชีพในโซเชียลมีเดียถือเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษสูงหลายฐาน อาทิ ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท ความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ฐานโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน โทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท

“ปัจจุบันมิจฉาชีพได้แฝงมาในโลกออนไลน์จำนวนมากและหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการชักชวนลงทุน หรือชักชวนให้ทำงาน เช่น ให้ดูยูทูป โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อปั่นยอดวิว ก่อนโน้มน้าวชักชวนลงทุนและนำไปสู่การหลอกลวงทำให้เสียทรัพย์ จึงขอให้ประชาชนและเยาวชนระมัดระวัง ตรวจสอบบุคคลที่มาชักชวนทำงานหรือลงทุนอย่างรอบคอบ อย่าโอนเงินให้ใครโดยง่ายโดยเฉพาะคนแปลกหน้า” น.ส.ไตรศุลี กล่าว