สธ.สระแก้ว ผุด 4 ข้อรับมือเหตุฉุกเฉิน

ธุระกิจ นพ.โอภาส-ไฟไหม้ปอยเปต

ธุระกิจ นพ.โอภาส-ไฟไหม้ปอยเปต

สำนักงานสาธารณสุขสระแก้ว เผยแนวทางรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ทบทวนโครงสร้างสายบัญชาการ-การประสานงานฝั่งไทยและกัมพูชา ซ้อมแผนปีละครั้ง เป็นต้น รวมถึงอัพเดตจำนวนผู้ที่ยังรักษาตัวใน รพ.

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้วได้ถอดบทเรียนจากเหตุเพลิงไหม้โรงแรมแกรนด์ไดมอนด์ ซิตี้ แอนด์ คาสิโน ปอยเปต ประเทศกัมพูชา และมีแนวทางรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต คือ

  1. ทบทวนแผนโครงสร้างสายบัญชาการ และสายปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน ทั้งจังหวัดสระแก้วและจังหวัดคู่แฝดในประเทศกัมพูชา
  2. ให้มีการซ้อมแผนเตรียมความพร้อม อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  3. ให้มีการติดตามข้อมูลผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจากฝั่งประเทศกัมพูชา
  4. สร้างระบบ Twin City และ Twin Hospital ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา

พร้อมกันนี้ยังเผยอัพเดตข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยปัจจุบันคงเหลือผู้บาดเจ็บสีเหลือง 4 ราย และสีเขียว 3 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตที่ประเทศกัมพูชามี 25 ราย เป็นคนไทย 19 ราย เนปาล 1 ราย ยังไม่ทราบสัญชาติ 5 ราย รักษาแล้วเสียชีวิตที่ประเทศไทย 1 ราย และยังมีผู้สูญหายรอการพิสูจน์ 4 ราย ศพรอพิสูจน์ที่ประเทศกัมพูชาอีก 5 ราย

โดยขณะนี้ปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) เพื่อตอบโต้สถานการณ์ รวมถึงสรุปข้อมูลการปฏิบัติการทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 – 5 มกราคม 2566 แล้ว โดยมีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 115 ราย เป็นเพศชาย 57% เพศหญิง 43%

ผู้รับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 35 ราย อยู่ในช่วงอายุ 15-29 ปี มากที่สุด 20 ราย อายุ 30-44 ปี 9 ราย อายุ 45 – 59 ปี 2 ราย และอายุ 60 ปีขึ้นไป 5 ราย อาการที่เข้ารับการรักษา คือ ทางเดินหายใจ (สำสักควัน) 76% อาการทางกระดูก 12% และแผลไฟไหม้ (Burn) ระดับ 1 อีก 12% โดยมีผู้บาดเจ็บที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากสำลักควัน 12 ราย

แหล่งที่มาข้อมูล>>>> เช็กคุณสมบัติ ส่องค่าตอบแทน การบินไทย เปิดรับสมัครแอร์โฮสเตส 300 อัตรา